วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ส่งงาน ผศ.ดร. วิชิต อู่อ้น เรื่อง Advertising โดย น.ส.ชลธิชา อยู่พ่วง


Advertising

โฆษณา

ความหมายของโฆษณา

โฆษณา คือ การสื่อสารเพื่อนำเสนอข้อดีหรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มผู้บริโภคโดยใช้วิธีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือ social media ในวิธีการและกลยุทธ์ทางการตลาด ด้วยเหตุผลจริง เพื่อให้กลุ่มผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมคล้อยตาม (ปนัดดา ตันสุวรรณรัตน์ 2553) (ผดุงศักดิ์ ตั้งติระโสภณ 2552) หรือ อยากจะซื้อสินค้านั้นๆ โดยมีผู้สนับสนุนหรือเจ้าของสินค้าระบุไว้

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของการโฆษณาในประเทศไทย* ไม่ได้ระบุไว้แน่ชัดว่าการโฆษณาเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เข้าใจว่าการ โฆษณาของไทยนั้นคงมีมาแต่ครั้งโบราณกาลนับตั้งแต่คนไทยเริ่มมีสินค้า มีคนขายและคนซื้อ การโฆษณาสินค้าของคนไทย ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ คือ การร้องขายสินค้าของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลาย โดยอาศัยการบอกกล่าวขายสินค้าของตนไปยัง ลูกค้าโดยตรง ซึ่งรูปแบบของการโฆษณาสินค้าในลักษณะนี้ ยังคงสืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน

 

องค์ประกอบของโฆษณา

ประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 4 ประการได้แก่

1.      ผู้โฆษณา (Advertiser) คือ เจ้าของสินค้าหรือบริการ ประสงค์จะทำการโฆษณา โดยยินยอมที่จะรับผิดชอบกับค่าใช้จ่าย ที่เกิดจากกระบวนการทำโฆษณาทั้งหมด

2.      บริษัทตัวแทนโฆษณา (Advertising Agency) คือ บริษัทที่ได้รับการว่าจ้างจากผู้โฆษณา ให้ทำการออกแบบและผลิตโฆษณาต่างๆ

3.      สื่อโฆษณา (advertising media) คือ การเผยแพร่ข้อมูลหรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ (ฐิติรัตน์ แก้วผนึกรังษี 2556)

4.      ผู้บริโภค(consumer) คือ ผู้ที่ยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ซึ่งเลือกจากความต้องการและความพอใจ โดยอาศัยการรับรู้ข่าวสารสินค้าผ่านสื่อโฆษณาเป็นการช่วยตัดสินใจ


 

การประยุกต์ใช้

การโฆษณาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน เพราะโฆษณาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ไปยังกลุ่มผู้บริโภค ดังนั้นการที่จะทำโฆษณาให้เข้าถึง และ ครองใจผู้บริโภคจะต้องมีกระบวนการเป็นขั้นตอน มีนักการตลาดมาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค มีกลยุทธ์ต่างๆ ในการนำเสนอเพื่อดึงดูดและให้กลุ่มผู้บริโภคคล้อยตามเพื่อซื้อสินค้า หากโฆษณาสามารถสร้างความรับรู้และความต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภคมากเท่าไหร่ ก็จะส่งผลให้ธุรกิจประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น

 

ฐิติรัตน์ แก้วผนึกรังษี (2556). การโฆษณาผ่านสื่อ Super Mart TV ของร้าน 7-Eleven ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยรามคำแหง่
ปิยะพล หรูรักวิทย์ (2551). การโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์กลางแจ้งต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร เอสแอนด์ พี, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดุงศักดิ์ ตั้งติระโสภณ (2552). ความพึงพอใจภาพยนต์โฆษณารณรงค์การดื่มนมของคู่สมรสใหม่, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิรดา สุริโย (2553). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาแฝง : ศึกษากรณีสินค้าประเภทให้โทษ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.