วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ส่งงาน ผศ.ดร. วิชิต อู่อ้น เรื่อง Advertising โดย น.ส.ชลธิชา อยู่พ่วง


Advertising

โฆษณา

ความหมายของโฆษณา

โฆษณา คือ การสื่อสารเพื่อนำเสนอข้อดีหรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มผู้บริโภคโดยใช้วิธีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือ social media ในวิธีการและกลยุทธ์ทางการตลาด ด้วยเหตุผลจริง เพื่อให้กลุ่มผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมคล้อยตาม (ปนัดดา ตันสุวรรณรัตน์ 2553) (ผดุงศักดิ์ ตั้งติระโสภณ 2552) หรือ อยากจะซื้อสินค้านั้นๆ โดยมีผู้สนับสนุนหรือเจ้าของสินค้าระบุไว้

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของการโฆษณาในประเทศไทย* ไม่ได้ระบุไว้แน่ชัดว่าการโฆษณาเกิดขึ้นเมื่อไร แต่เข้าใจว่าการ โฆษณาของไทยนั้นคงมีมาแต่ครั้งโบราณกาลนับตั้งแต่คนไทยเริ่มมีสินค้า มีคนขายและคนซื้อ การโฆษณาสินค้าของคนไทย ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ คือ การร้องขายสินค้าของบรรดาพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลาย โดยอาศัยการบอกกล่าวขายสินค้าของตนไปยัง ลูกค้าโดยตรง ซึ่งรูปแบบของการโฆษณาสินค้าในลักษณะนี้ ยังคงสืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน

 

องค์ประกอบของโฆษณา

ประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 4 ประการได้แก่

1.      ผู้โฆษณา (Advertiser) คือ เจ้าของสินค้าหรือบริการ ประสงค์จะทำการโฆษณา โดยยินยอมที่จะรับผิดชอบกับค่าใช้จ่าย ที่เกิดจากกระบวนการทำโฆษณาทั้งหมด

2.      บริษัทตัวแทนโฆษณา (Advertising Agency) คือ บริษัทที่ได้รับการว่าจ้างจากผู้โฆษณา ให้ทำการออกแบบและผลิตโฆษณาต่างๆ

3.      สื่อโฆษณา (advertising media) คือ การเผยแพร่ข้อมูลหรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ (ฐิติรัตน์ แก้วผนึกรังษี 2556)

4.      ผู้บริโภค(consumer) คือ ผู้ที่ยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ซึ่งเลือกจากความต้องการและความพอใจ โดยอาศัยการรับรู้ข่าวสารสินค้าผ่านสื่อโฆษณาเป็นการช่วยตัดสินใจ


 

การประยุกต์ใช้

การโฆษณาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน เพราะโฆษณาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ไปยังกลุ่มผู้บริโภค ดังนั้นการที่จะทำโฆษณาให้เข้าถึง และ ครองใจผู้บริโภคจะต้องมีกระบวนการเป็นขั้นตอน มีนักการตลาดมาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค มีกลยุทธ์ต่างๆ ในการนำเสนอเพื่อดึงดูดและให้กลุ่มผู้บริโภคคล้อยตามเพื่อซื้อสินค้า หากโฆษณาสามารถสร้างความรับรู้และความต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภคมากเท่าไหร่ ก็จะส่งผลให้ธุรกิจประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น

 

ฐิติรัตน์ แก้วผนึกรังษี (2556). การโฆษณาผ่านสื่อ Super Mart TV ของร้าน 7-Eleven ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยรามคำแหง่
ปิยะพล หรูรักวิทย์ (2551). การโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์กลางแจ้งต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร เอสแอนด์ พี, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดุงศักดิ์ ตั้งติระโสภณ (2552). ความพึงพอใจภาพยนต์โฆษณารณรงค์การดื่มนมของคู่สมรสใหม่, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิรดา สุริโย (2553). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาแฝง : ศึกษากรณีสินค้าประเภทให้โทษ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

           

 

 

10 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ที่มีประโยชน์นะคะ ^_____^

    ตอบลบ
  2. น่าสนใจ อยากได้ข้อมูลสื่อโฆษณาในปัจจุบันเอามาลงบ้างนะครับ

    ตอบลบ
  3. ข้อมูลเข้าใจง่ายดีคะ สั้นๆ แต่ได้ใจความ.....

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาดี เข้าใจง่ายครับ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณสำหรับสาระดีๆนะค่ะ ได้ความรู้เยอะเลย

    ตอบลบ
  6. Perfect! เยี่ยมมากๆ เลยค่ะ

    ตอบลบ
  7. ขอบคุณค่ะ เยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ
  8. เนื้อหาตรงประเด็น ชัดเจน เข้าใจง่าย ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ6 ธันวาคม 2557 เวลา 07:36

    ขอบคุณสำหรับสาระดีๆนะคะ

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ7 ธันวาคม 2557 เวลา 03:15

    เนื้อหาดีมาก ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ