วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ส่งงาน ผศ.ดร. วิชิต อู่อ้น เรื่อง Product โดย น.ส.ชลธิชา อยู่พ่วง

Product
 
 
ความหมาย
          ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่จับต้องได้ (ตัวผลิตภัณฑ์) บริการ ประสบการณ์ เหตุการณ์ บุคคล สถานที่ องค์กร ข้อมูล และแนวความคิด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงความพึงพอใจ และผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับจากการซื้อสินค้านั้น โดยการบรรจุหีบห่อ และยี่ห้อผลิตภัณฑ์ที่นำออกสู่ตลาด ต้องมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับ ของผู้บริโภค 



องค์ประกอบ
           ตัวผลิตภัณฑ์ จะประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้

          1.      ผลิตภัณฑ์หลัก (Core product)  ประโยชน์หลักหรือประโยชน์พื้นฐานของผลิตภัณฑ์

          2.      รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ (Formal product)  ลักษณะทางกายภาพหรือรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์  เช่น  คุณภาพ รูปร่าง หีบห่อ ตรา
          3.      ผลิตภัณฑ์คาดหวัง (Expected product)  ประโยชน์หลายๆอย่าง เช่น ประสิทธิภาพ  ประโยชน์ ราคาโปรโมชั่นต่างๆ
          4.      ผลิตภัณฑ์ควบ (Augment product) ประโยชน์ที่นอกเหนือจากประโยชน์หลัก เช่น การให้บริการอื่นๆ การประกัน
          5.      ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ (Potential product) การพัฒนาลักษณะใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์ เช่น คุณสมบัติ อรรถประโยชน์

          สิ่งที่นักการตลาดควรจะต้องรู้ ถึงในตัวผลิตภัณฑ์ที่จะนำเสนอต่อต่อผู้บริโภค มีดังนี้

          1.ผลิตภัณฑ์หลัก (Core Product)  นักการตลาดต้องรู้และเข้าใจว่าอะไรในตัวผลิตภัณฑ์ขององค์กรที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้

         2.คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ (Product  Attribute)  นักการตลาดต้องรู้ถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่จะนำเสนอไปยังลูกค้า อะไรคือคุณสมบัติเฉพาะตัวของสินค้าและบริการ
         3.จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ (Product   Feature) นักการตลาดต้องรู้จุดเด่นที่สามารถสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบทางการแข่งขัน

          4.ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ (Product  Benefit)  คือ ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์



การประยุกต์ใช้
           การนำเอาทฤษฎีทางการตลาดในเรื่อง 4P มาประยุกต์ใช้ในกิจการ จะช่วยให้กิจการได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากเพราะกิจการสามารถที่จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี  และนำมาสู่การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค สุดท้ายนำมาซึ่งผลตอบแทนให้แก่กิจการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของรายได้  กำไร ให้แก่กิจการและที่สำคัญยังเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสำเร็จและความสามารถที่จะอยู่ได้ในอนาคตของกิจการ อย่างไรก็ดีกิจการก็ไม่ควรจะละเลยในเรื่องของการทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในสินค้าหรือบริการด้วย  เพราะก่อนที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้ง  ผู้บริโภคจะมีการกำหนดคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์  รวมกับความพึงพอใจ และผลประโยชน์อื่นที่จะได้รับจากการซื้อสินค้านั้น และยังรวมถึงการบรรจุหีบห่อ และยี่ห้อผลิตภัณฑ์ที่นำออกสู่ตลาดอีกด้วย  ดังนั้นกิจการจะต้องรักษาคุณภาพที่ดีและการเป็นที่ยอมรับในสินค้าหรือบริการของผู้บริโภคตลอดเวลา

 
 แหล่งที่มาของข้อมูล
            การสรุปการบรรยายของนักศึกษา D.B.A.06 มหาวิทยาลัยศรีปทุม เอกสารสืบค้น และเอกสารประกอบการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น